Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4


ให้นักศึกษาไปค้นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในงานด้านต่างๆมาคนละ 3 โปรแกรมต่างงานกัน ยกตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย แสดงภาพตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย


Flash

การสร้างสื่อการเรียนรู้ สื่อนำเสนอ หรืองานออกแบบต่างๆ ย่อมจะหนีไม่พ้นการออกแบบ สร้างสรรค์งานกราฟิก หากสามารถสร้างงาน ออกแบบงานกราฟิกด้วยตนเอง คงจะสร้างความ
ภูมิใจได้มาก แต่ปัญหาใหญ่ของการสร้างสรรค์งานกราฟิกของหลายๆ ท่านก็คือ วาดภาพไม่เป็นหรือ สร้างผลงานไม่ได้แต่ด้วยความสามารถของโปรแกรม Macromedia Flash เครื่องมือช่วยสร้างสรรค์งานกราฟิกที่ง่ายในการเรียนรู้
และประยุกต์ใช้งาน พร้อมๆ กับแนวทางการวาดภาพจากคู่มือฉบับนี้ จะลืมคำว่า วาดยากไปเลย เนื่องจาก Flash เป็นซอฟต์แวร์สร้างสรรค์งานกราฟิกในฟอร์แมต Vector ที่ภาพกราฟิกทุกภาพประกอบจากเส้นโครงร่างที่ทำให้การปรับแต่ง แก้ไข หรือ
ออกแบบภาพ ทำได้ง่ายด้วยเทคนิค ตัด เชื่อม ปรับเปลี่ยนรูปร่าง
Macromedia Flash CS3 เป็นผลิตภัณฑ์ล่าสุดจากค่าย Macromedia ที่พัฒนามาเพื่อสนับสนุนการสร้างงานกราฟิก ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว สำหรับการนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Flash มีฟังก์ชันช่วยอำนวยความสะดวก ในการสร้างผลงานหลากหลายรูปแบบตลอดจนชุดคำสั่งโปรแกรมมิ่งที่เรียกว่า Flash Action Script ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และสามารถคอมไพล์ (Compile) เป็นโปรแกรมใช้งาน (Application Program) เช่น การทำเป็น e-Cardเพื่อแนบไปพร้อมกับ e-Mail ในโอกาสต่างๆ
การเรียกใช้โปรแกรม Flash

การเรียกใช้งานโปรแกรม Flash มีหลักการคล้ายๆ กับการเรียกโปรแกรมทั่วๆ ไปของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โดยเริ่มจากการคลิกปุ่ม Start จากนั้นเลื่อนไปคลิกที่รายการ
Program, Adobe Flash CS3 Professional รอสักครู่จะปรากฏหน้าต่างการทำงาน ซึ่งมีโหมดการทำงานให้เลือกได้หลายลักษณะได้แก่การเปิดไฟล์จากคำสั่ง Open a Recent Item
การสร้างงานผลงานจากรายการ Create New
การสร้างผลงานแม่แบบ Create from Template

จอภาพการทำงานของ Flash


เมื่อคลิกเลือกการสร้างผลงานใหม่ของ Flash จากรายการ Create New Flash File จะ ปรากฏส่วนประกอบจอภาพการทำงานดังนี้

วีดีโอการใช้งาน Flash เบื้องต้น





Google Earth


Google Earth เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการ ดูภาพถ่ายองทุกมุมโลก จากดาวเทียม ซึ่งมีความละเอียดสูงมาก สามารถ ขยายภาพ จากโลกทั้งใบ ไปสู้ประเทศ และลงไปจนถึงวัตถุเล็ก เช่น ถนน ตรอก ซอกซอย รถยนต์ บ้านคน
Google Earth ยังใช้งานง่ายและ สะดวกในการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนได้ จึงเหมาะสำหรับ อาจารย์ และ นักเรียน ที่จะใช้ในการสอนและการเรียนในวิชาต่าง ๆ
*Google Earth จะใช้งานได้ต่อเมื่อ เครื่องได้ทำการ เชื่อมต่อ Internet อยู่เท่านั้น เพราะรูปถ่ายจากดาวเทียมต่างๆ จะ ถูกส่งมาให้เรา ทาง Internet ในขณะที่เราเลือกดูส่วนต่างๆของโลก

Download Google Earth ได้ที่ http://earth.google.com/
*คลิกที่ปุ่ม I'm good. Download Google Earth.exe หลังจาก Download เสร็จเรียบร้อย ให้ทำการติดตั้งตัวโปรแกรม
เมื่อติดตั้งเสร็จจะมี Icon Google Earth  ที่ Desktop


หน้าจอหลักและการใช้งานเบื่องต้น




หลังจากที่เข้าสู่โปรแกรมจะเห็น ลูกโลก ซึ่งเราสามารถใช้ Mouse หมุนลูกโลกไปในทิศทางต่าง
เพื่อไปยัง ประเทศ ที่เราต้องการ
1. นำ Mouse เข้าไปที่ลูกโลก แล้ว Mouse จะกลายเป็นรูปมือ
2. คลิกค้างไว้ แล้ว เลื่อน Mouse เพื่อหมุนโลก
แถบแจ้งสถานะ Status ) ของโปรแกรม Google Earth 

แถบแจ้งสถานะ (Status )ของโปรแกรม Google Earth 




Pointer จะเป็นการ ระบุตำแหน่งว่า Moise ของเราอยู่ที่ ตำแหน่งพิกัดที่เท่าไหร่ บนโลก ใช้เพื่ออ้างอิง กับตำแหน่งเบริงๆบนพื้นโลกได้(GPS)
Streaming จะบอกว่าเรากำลัง โหลด รูปถ่ายจาก Internet อยู่ ซึ่งต้องรอจนกว่าจะ 100% เพื่อจะได้ เห็นภาพในตำแหน่งนั้นๆ ได้ชัดที่สุด
*ความเร็วในการโหลดภาพจะช้าเร็วขึ้นอยู่กับความ เร็วของ Internet และความหนาแน่นของการใช้งาน Internet ในขณะนั้น
Eye alt ระยะห่างจากพื้นโลกในมุมมองขณะนั้น

การใช้เครื่องมือในการดูแผนที่



ใช้ในการ Zoom เข้าออก เพื่อดูรายละเอียดใน ระดับที่ต้องการโดย คลิกที่ + เลื่อยๆ ภาพจะยิ่งขายใหญ่ ใกล้มากขึ้น และ คลิกที่ - เพื่อย่อขนาดในขณะที่ Zoom เพื่อดูรายละเอียด โปรแกรมจะทำการ โหลด ข้อมูลภาพถ่ายจาก Internet ซึ่งต้องใช้ เวลา และภาพก็จะค่อยๆชัดขึ้น



ใช้ในการเลื่อนมุมมองไปในทิศทางต่างๆในขณะที่เลื่อนมุมมอง โปรแกรมอาจจะโหลดข้อมูลจาก Internet เช่นกัน




ใช้เพื่อหนุนแผนที่ไปทิศทางซ้าย และ ขวา




ใช้เพื่อให้ แผนที่ หมุนกลับไป ให้ ทิศ เหนืออยู่ด้านบนเหมือนเดิม


ใช้ปรับองศาในการมองแผนที่ ว่าจะมองจาง มุม กี่ องศา


ใช้ปรับองศาในการมองแผนที่ ให้กลับไป เป็นตามปกติ


ตัวอย่างการ การขยายเพื่อดูภาพโรงเรียน ปากเกร็ด จากความสูง 2025tt

การใช้ Search ในการค้นหาตำแหน่ง
นอกจากการหมุนโลกเพื่อหาตำแหน่ง เรายังสามารถให้ โปรแกรมวิ่งไปที่เมืองที่ต้องการได้ โดยการ
1. ใส่ ชื่อเมือง ที่ต้องการ ลงไปในช่อง Local Search
2. กด Search ถ้าใส่ชื่อเมืองถูกต้อง โปรแกรมจะหมุนโลกไปใน ตำแหน่งนั้น โดยอัตโนมัติ


ตัวอย่างการใช้ Local Search เพื่อค้นหา เมือง New York 

ด้วยการใส่ คำว่า New York แล้วกด Search 


SPSS 10.0.1

โปรแกรม SPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติอีกโปรแกรมหนึ่ง สำหรับเวอร์ชัน 10.0.1 ใช้กับปฏิบัติการ Window 95 ขึ้นไป หน่วยประมวลผลกลางขั้นต่ำ คือ เพนเทียม โดยมีหน่วยความจำ 32 เมกกะไบต์ และพื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสค์อย่างน้อย 68 เมกกะไบต์
การเริ่มต้นสู่โปรแกรม
เมื่อคลิกที่โปรแกรม SPSS จะเข้าสู่โปรแกรมดังรูป ซึ่งหากมีแฟ้มข้อมูลเดิม จะสามารถเลือกจากหน้าต่างนี้ หากต้องการเริ่มต้นใหม่ ให้คลิก Cancel เพื่อเข้าสู่ส่วนตารางทำงาน หรือที่เรียกว่า Data Editor



รูปที่1.8 เริ่มต้นโปรแกรม SPSS

• ข้อกำหนดโปรแกรมทั่วไป
SPSS แบ่งส่วนที่ใช้ป้อนข้อมูลเป็น sheet 2 ส่วน หรืออาจเรียกเป็น Tab ได้แก่
Data View เป็นส่วนสำหรับใส่ข้อมูลซึ่งแสดงชื่อตัวแปรเป็น Var ทุกคอลัมน์เมื่อทำการป้อนข้อมูล จะเปลี่ยนเป็น Var00001 Var00002 … หากต้องการกำหนดชื่อตัวแปรเป็นอย่างอื่น ให้เลือกที่ Variable View จาก Sheet Tab ส่วนแถวจะอ้างอิงตั้งแต่ 1, 2, 3 ไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตัวอักษรที่แสดงชื่อตัวแปรหรือแถว มีขนาดเล็กมองไม่สะดวก สามารถเปลี่ยนได้โดยการเลือกเมนู View \ Fonts… เพื่อเลือกชนิดอักษรและขนาดตามต้องการ ( แนะนำให้ใช้ MS San Serif ขนาด 10 point)
Variable View เป็นส่วนที่กำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของตัวแปร ได้แก่ ชื่อตัวแปร (มีได้ไม่เกิน 8 ตัวอักษรรวมตัวเลข โดยห้ามเว้นช่องว่างหรือวรรค และห้ามมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น วงเล็บ เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น ) จำนวนทศนิยมความกว้างของคอลัมน์ Label ( ใช้ระบุรายละเอียดของตัวแปรซึ่งจำกัดเพียง 8 ตัวอักษร แต่ Label สามารถพิมพ์ข้อความได้มากกว่า รวมทั้งมีช่องว่างหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ได้ ) เป็นต้น
• การนำข้อมูลเข้าสู่ Work sheet หรือ Data Editor
สำหรับการนำข้อมูลเข้าสู่ Data Editor สามารถทำได้หลายวิธี แต่ 2 วิธีที่นิยม ได้แก่
• การเปิดไฟล์จากไฟล์ประเภทอื่น

โดยโปรแกรม SPSS สามารถที่จะเปิดไฟล์ได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์จากโปรแกรม Excel, Lotus, Sysstat หรือ Dbase สามารถเปิดได้โดยใช้เมนู File \ Open \ Data จากนั้นเลือกชนิดของไฟล์ เลือก Drive และ Folder ให้ถูกต้อง


รูปที่ 1.9 Data Editor ใน SPSS 10.0.1
• การป้อนข้อมูลโดยตรง
ในการป้อนข้อมูล หากต้องการป้อนข้อมูลเข้าอย่างโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ใน Data Editor สามารถทำการ Copy และ Paste ข้อมูลในลักษณะของ Spread sheet ทั่วไปได้ ทำให้สะดวกต่อการใช้ป้อนข้อมูล

• เมนูสำหรับการวิเคราะห์ผลทางสถิติ
ในการวิเคราะห์นั้น จะใช้เมนู Statistics ดังรูป โดยจะมีเมนูย่อยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่าง ๆ เช่น Descriptive Statistics, Compare Mean, General Linear Model, Correlation หรือ Regression เป็นต้น


รูปที่ 1.10  เมนู Analyze สำหรับวิเคราะห์ผลทางสถิติ

สอนโปรแกรม SPSS





วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 3

ให้นักศึกษา เขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาวิชาสังคมศึกษา มา 1. ระบบ อธิบายรายละเอียดโดยหลัก IPO มาพอสังเขป


จิตวิทยาและการแนะแนวเด็กวัยรุ่น


Input

  จุดประสงค์
1.มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนวเด็กวัยรุ่น
2.มีความรู้ความเข้าใจที่จะนำหลักการ และทฤษฎีทางจิตวิทยาและการแนะแนวเด็กวัยรุ่นไปใช้ในการพัฒนาตนเอง
3.มีทักษะในด้านเทคนิควิธีการต่างๆ ทางจิตวิทยา การแนะแนว และการให้คำปรึกษาสำหรับเด็กวัยรุ่น
    สื่อการสอน
1.เอกสารประการการสอนวิชาจิตวิทยาและการแนะแนวเด็กวัยรุ่น
2.แผ่นโปร่งใส วีดีโอ
3.แบบฟอร์มเกี่ยวกับการแนะแนว
4.แบบฝึกหัด แบบฝึก และใบงานต่างๆ

Process

1.บรรยาย
2.การสาธิต
3.การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และการเขียนรายงานศึกษาค้นคว้า
4.การฝึกปฏิบัติทักษะต่างๆ ทางจิตวิทยาและการแนะแนว
5.การทำแบบฝึกหัด แบบฝึก ใบงาน และทดสอบ
6.ดูวีดีโอประกอบการสอน

Output

1.การสอบ
2.ผลสอบ
3.ทักษะ
4.คะแนนผู้เรียน
5.ความรู้
6.ทัศนคติ
7.เกรด

หนังสือวิชาจิตวิทยาและการแนะแนวเด็กวัยรุ่น
อัมพวัน อัมพรสิทธุ์  ศศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว)
คณะคุรุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง  2542

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 2


การผลิตนำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่ ถ้าเป็นระบบอะไรคือ Input   Process   Output

Input

1.การเตรียมดิน
          1.1 ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ การคมนาคมสะดวก
          1.2 ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ
          1.3 การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก
2. การปลูก 
          2.1 ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน
         2.2 การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย
3. การใส่ปุ๋ย เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดูตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยยิ่งดี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 อย่าง คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม
4. การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรกอาจใช้แรงงานคนแรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้
5.การตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน 


Process

กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ
1.กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction) ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย
2.การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย(Juice Purification) น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว
3.การต้ม (Evaporation) น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก (ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
4.การเคี่ยว (Crystallization) น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
5.การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ

กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์ น้ำตาลทรายดิบถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเข้า 5 ขั้นตอนการผลิต ดังนี้
1.การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก
2.การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
3.การเคี่ยว (Crystallization) น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4.การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
5.การอบ (Drying) ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย

Output

1.น้ำตาลทราย
2.กากน้ำตาล
3.ซานอ้อย